คำถาม

จดทะเบียนบริษัท ทุนเท่าไหร่ดี

ตอบ  ทุนจดทะเบียนอย่าเกิน 5 ล้านบาท

เพราะ ถ้าทุนจดทะเบียนมากกว่า 5 ล้านบาท บริษัทที่จดทะเบียนนั้นจะเสียภาษีในอัตรร้อยละ 20% ของกำไรสุทธิทั้งจำนวน ส่วนบริษัทที่จดทะเบียนต่ำกว่า 5 ล้านบาทและรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี จะเสียภาษีจากกำไรสุทธิที่ 300,000 บาทแรกยกเว้นภาษี และ 300,000 - 3,000,000 บาทก็ยังคงเสียภาษีแค่ 15%  ซึ่งเป็นอัตราภาษีที่ถูกกว่าทุนจดทะเบียนที่มากกว่า 5 ล้านบาท

ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำน้อยกว่า 1 ล้านบาท

ตอบ คือค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนที่กระทรวงพาณิชย์มีอัตราขั้นต่ำซึ่งอัตราขั้นต่ำนั้นถูกกำหนดไว้สำหรับบริษัทที่มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาทพอดี  คือ หากคุณจดทะเบียนทุนต่ำกว่า 1 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมที่เสีย จะเสียเท่ากับคนที่จดทะเบียน 1 ล้านบาท และอีกเหตุผลหนึ่งคือ กรณีอนาคตบริษัทเจริญเติบโต ต้องเพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัทจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเพิ่มทุนอีกรอบ เช่นจดไว้ 200,000 บาท แต่อยากปรับเป็น 1 ล้านบาท บริษัทต้องเสียภาธรรมเนียมของส่วนทุนที่เพิ่มขึ้นอีกรอบหนึ่ง 

เรียกชำระค่าหุ้นตามเงินลงทุนที่แท้จริง

ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไม่ควรน้อยกว่า 1 ล้านบาท เหตุผลคือ ประหยัดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน บริษัทที่จดทะเบียน 1 ล้านบาทมักแจ้งว่าเรียกชำระค่าหุ้นแล้ว 1 ล้านบาทเท่ากัน (จดทะเบียน 1 ล้านและเรียกชำระค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว) (สิ่งที่กฏหมายให้ทำได้คือ บริษัทสามารถเรียกชำระค่าหุ้นเพียง 25% ของทุนจดทะเบียนก็ได้)

เมื่อเรียกชำระค่าหุ้นไม่ตรงกับเงินลงทุนที่แท้จริง ผลที่ตามมาคือ

ตัวอย่างจากข้อมูลข้างต้น เมื่อบริษัทไม่ได้มีเงินสดถือไว้ 1 ล้านบาทตามที่จดแจ้งไปทำให้เวลาผู้ตรวจสอบบัญชีมาตรวจสอบ ลูกค้าส่วนใหญ่จึงตอบว่า "เงินสดอยู่กับกรรมการ" จึงทำให้มีการบันทึกบัญชีเงินสด ดังกล่าวไว้ในบัญชีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ เพื่อให้งบการเงินสะท้อนความเป็นจริงต่อไป 

ในด้านภาษีสิ่งที่ตามมาคือ เมื่อบริษัทเอาเงินของบริษัทไปให้กู้ยืม (เกิดลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการ) กรมสรรพากรสามารถประเมินรายได้ดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินกู้ยืมตรงนั้นได้ (เสียภาษีนิติบุคคลเพิ่ม) และภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3.3% ของรายได้ดอกเบี้ยดังกล่าวเพิ่มเติมอีกด้วยส่งผลให้บริษัท เสียภาษีจากตรงนั้นโดยไม่จำเป็น

การคิดเงินเพิ่ม / เบี้ยปรับ ในการยื่น ภงด. และ ภพ.30

การคิดเงินเพิ่มกรณียื่น ภ.ง.ด.

กรณียื่นเพิ่มเติม
เงินเพิ่มคิดจาก ยอดภาษีที่ต้องชำระ x 1.5% x ระยะเวลา (เดือน) กรณี ภ.ง.ด. 1, 3, 50, 53 ถ้าเป็น ภ.ง.ด. 51 คิดจากยอดภาษีที่ต้องชำระ x 20%


กรณียื่นปกติ (เกินกำหนดเวลา)
เงินเพิ่มคิดจาก
ยอดภาษีที่ต้องชำระ x 1.5% x ระยะเวลา (เดือน)
ค่าปรับแบบ
- ยื่นภายใน 7 วันหลังจากครบกำหนดยื่น (วันที่ 7) แบบละ 100 บาท กรณี ภ.ง.ด. 1, 3, 53 ถ้าเป็น ภ.ง.ด. 50 หรือ 51 = 1,000 บาท
- ถ้าเกิน 7 วันขึ้นไป แบบละ 200 บาท กรณี ภ.ง.ด. 1, 3, 53 ถ้าเป็น ภ.ง.ด. 50, 51 = 2,000 บาท


การคิดเบี้ยปรับ เงินเพิ่มในการยื่น ภ.พ. 30
กรณียื่นเพิ่มเติม (ยื่นปกติครั้งแรกภายในกำหนดเวลา)
เงินเพิ่มคิดจาก
ยอดภาษีที่ต้องชำระ x 1.5% x ระยะเวลา (เดือน) กรณี ภ.ง.ด. 1, 3, 50, 53 ถ้าเป็น ภ.ง.ด. 51 คิดจากยอดภาษีที่ต้องชำระ x 20%
ค่าปรับแบบ
ภาษีขาย x (อัตรา %)


กรณียื่นปกติ (เกินกำหนดเวลา) (ยื่นเพิ่มเติมแต่ยื่นปกติครั้งแรกเกินกำหนดเวลา)
เงินเพิ่มคิดจาก
ยอดที่ต้องชำระ x 1.5% x ระยะเวลา (เดือน)
ค่าปรับแบบ
ยอดที่ต้องชำระ x (อัตรา %) x 2 เท่า
ค่าปรับแบบ
ยื่นแบบภายใน 7 วันหลังจากครบกำหนดยื่น (วันที่ 15) 300 บาท ถ้าเกิน 7 วันขึ้นไป 500 บาท


กรณียื่นเพิ่มเติม (ยื่นปกติครั้งแรกภายในกำหนดเวลา)
1-15 วัน = 2%
16-30 วัน = 5%
31-60 วัน = 10%
61 วันขึ้นไป = 20%

ปิดงบการเงิน ได้รู้อะไรเมื่อสิ้นรอบบัญชี

ตอบ สิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้
 
เจ้าของธุรกิจที่จดทะเบียนนิติบุคคลแล้ว โดยทั่วไปกระบวนการทำธุรกิจประกอบด้วย การซื้อสินค้า การขายสินค้าหรือการให้บริการ และการรับจ่ายเงิน ทำให้บัญชีที่แทบทุกธุรกิจจะต้องมีเหมือนๆ กันคือ บัญชี 5 ประเภท (หรือในทางบัญชีเรียกว่า สมุดบัญชี 5 เล่ม) ได้แก่ ซื้อ ขาย จ่าย รับ และทั่วไป แต่ละบัญชีจะมีหลักฐานทางการเงิน ซึ่งนักบัญชีหรือเจ้าของธุรกิจจะต้องรวบรวมเอกสารหลักฐานของบัญชีแต่ละประเภทเหล่านี้มาแยกรายได้ ค่าใช้จ่าย แบบภาษีต่างๆ ที่เสียไป มาทำบัญชีด้วยตัวเอง
 
แต่ถ้าเจ้าของธุรกิจยังไม่มีนักบัญชี ก็จ้างสำนักงานบัญชีทำ โดยนำเอกสารทุกประเภทที่มีมาลงบัญชีได้เลย โดยมีการบันทึกข้อมูลจากเอกสารลงในแต่ละบัญชีแยกประเภท ถ้าเจ้าของธุรกิจจัดการเอกสารทางธุรกิจอย่างสม่ำเสมอและเป็นระบบ จะทำให้ได้ข้อมูลทางการเงินที่ทันต่อการตัดสินใจ และส่งผลให้การจัดทำงบการเงินตอนสิ้นปีเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว
                                                                                                                                               

บริษัท กับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่างกันอย่างไร

บริษัทจำกัด
มาตรา 1096 อันว่าบริษัทจำกัดนั้น คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ

บริษัท แบ่งเป็น 2 ประเภท
2.1 บริษัทจำกัด  
2.2 บริษัทมหาชนจำกัด

2.1 บริษัทจำกัด คือ คนเข้าร่วมหุ้นทำธุรกิจ และ จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด ต่อกระทรวงพาณิชย์ ตามขั้นตอนและวิธีการตามกฎหมาย ซึ่งมีระเบียบที่มากกว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด  บริษัทจำกัดเป็นนิติบุคคล แยกตัวจากผู้เป็นหุ้นส่วน ( ผู้ก่อการ / ผู้ถือหุ้น ) เช่นกัน  มีรูปแบบวิธีการจัดการบริษัทอย่างรัดกุมเป็นระเบียบ ตามที่กฎหมายกำหนด มีการประชุมผู้ถือหุ้น , มีการจัดตั้งคณะกรรมการให้เป็นผู้บริหารจัดการกิจการของบริษัท , หุ้นสามารถโอนให้แก่กัน หรือ โอนให้แก่บุคคลภายนอกได้ , ฯลฯ  
เมื่อมีกำไรเกิดขึ้น ผู้ถือหุ้นจะได้รับส่วนแบ่งในรูปเงินปันผล ตามส่วน ตามกำหนด และ ต้องจัดเก็บเงินสำรองบางส่วนไว้สำหรับดำเนินกิจการของบริษัทต่อไป  เมื่อมีหนี้สินเกิดขึ้น ผู้ถือหุ้นแต่ละคนรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนลงหุ้น
2.2  บริษัท มหาชนจำกัด เป็นรูปแบบธุรกิจ ที่ต้องมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด ต่อกระทรวงพาณิชย์ ตามขั้นตอนและวิธีการตามกฎหมาย ซึ่งมีระเบียบที่มากกว่าบริษัทจำกัด  บริษัทมหาชนจำกัด เป็นนิติบุคคล แยกตัวออกมาจากผู้ก่อการ / ผู้ถือหุ้นเช่นกัน และ มีการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนด้วย
เมื่อมีกำไรเกิดขึ้น ผู้ถือหุ้นจะได้รับส่วนแบ่งในรูปเงินปันผล ตามส่วน ตามกำหนด และ ต้องจัดเก็บเงินสำรองบางส่วนไว้สำหรับดำเนินกิจการของบริษัทต่อไป  เมื่อมีหนี้สินเกิดขึ้น ผู้ถือหุ้นแต่ละคนรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนลงหุ้น

ห้างหุ้นส่วนจำกัด
มาตรา 1077 อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองจำพวก ดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งมีจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้นจำพวกหนึ่ง และ
(2) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวนอีกจำพวกหนึ่ง

ห้างหุ้นส่วน แบ่งเป็น 3 ประเภท

1.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
1.3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด


1.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล  คือ คนเข้าร่วมหุ้นกันทำธุรกิจ เช่น หุ้นเงินกันซื้อของมาขายและนำกำไรมาแบ่งกัน โดยไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ อาจจะขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ของห้างหุ้นส่วนสามัญแยกออกมาก็ได้ และเสียภาษีเงินได้แบบบุคคลธรรมดา

เมื่อมีผลกำไร ผู้เป็นหุ้นส่วนจะนำกำไรมาแบ่งปันกันตามส่วน  เมื่อมีหนี้สิน ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ต้องร่วมกันรับผิดต่อเจ้าหนี้อย่างไม่จำกัดจำนวน  (ตามหนี้ที่เกิดขึ้นจริง)  และ เมื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แล้ว ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันมีสิทธิมาไล่เบี้ยกันเองเพื่อให้เป็นไปตามส่วน

1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล คือ คนเข้าร่วมหุ้นทำธุรกิจ และ จดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ต่อกระทรวงพาณิชย์  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งแยกตัวออกมาเป็นบุคคลใหม่จากคนที่เข้าร่วมทุน  โดย ผู้เป็นหุ้นส่วนจะเข้าบริหารจัดการ ดำเนินการ และเมื่อมีกำไรจะนำมาแบ่งให้ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนตามส่วน ข้อมูลที่จะทะเบียนนิติบุคคลต่อกระทวงพาณิชย์ ถือเป็นข้อมูลที่ประชาชนทราบได้  และ มีความชัดเจนต่อสาธารณชนว่าใครเป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลนั้น
  
เมื่อมีผลกำไร ผู้เป็นหุ้นส่วนจะนำกำไรมาแบ่งปันกันตามส่วน  ตามกำหนด เมื่อมีหนี้สิน ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ต้องร่วมกันรับผิดต่อเจ้าหนี้อย่างไม่จำกัดจำนวน  (ตามหนี้ที่เกิดขึ้นจริง)  และ เมื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แล้ว ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันมีสิทธิมาไล่เบี้ยกันเองเพื่อให้เป็นไปตามส่วน

1.3  ห้างหุ้นส่วนจำกัด คนเข้าร่วมหุ้นทำธุรกิจ และ จดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่อกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นนิติบุคคล แยกตัวจากผู้เป็นหุ้นส่วนเช่นกัน แต่ หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด มี 2 ประเภท คือ หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด กับหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ( ต้องมีอยู่ทั้งสองจำพวก ไม่ใช่มีเพียงจำพวกเดียว )  
หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด เอาเงินเข้ามาลงหุ้น และรับส่วนแบ่งกำไรเมื่อถึงกำหนด  โดยหุ้นส่วนจำพวกนี้ ไม่มีสิทธิบริหารจัดการกิจการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ( อาจเพียงแค่กำกับดูแลบางประการได้ ) และ เมื่อมีหนี้เกิดขึ้น ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนที่ตนลงหุ้น


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้