ทำบัญชีอย่างไรให้กรมสรรพากรยอมรับ

Last updated: 9 มิ.ย. 2560  |  695 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำบัญชีอย่างไรให้กรมสรรพากรยอมรับ

1.       ผู้ทำบัญชี จะต้องเป็นผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย มีความรู้ภาษาไทย  ที่สำคัญจะต้องไม่มีประวัติการต้องโทษจำคุก ในเรื่องของการทำความผิดตามกฎหมายบัญชีหรือการสอบบัญชี วุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าป.ตรี สาขาบัญชี ถ้าหากสอบบัญชีหรือเทียบเท่า จะต้องอบรม 3 ปี 27 ชั่วโมง และต้องแจ้งรายละเอียดของการอบรมตามแบบของ ส.บช. ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นปีตามปฏิทินของทุกปีต่ออธิบดี

2.       ระบบบัญชีจะต้องดี เช่น มีเอกสารการรับและจ่ายเงิน มีการส่งสินค้าให้ครบถ้วนตามพ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ.2543

3.      ประเภทของธุรกิจนั้นมีความแตกต่างกัน  เพราะฉะนั้นรายละเอียดในการทำบัญชีก็จะแตกต่างกันด้วย ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ก็จะต้องมีการตรวจสอบพิกัดของสินค้าที่นำเข้าหรือส่งออก สำหรับธุรกิจผลิตสินค้า ก็ต้องตีความให้ถูกว่าสินค้าอะไรผลิตเพื่อไว้ขาย สินค้าอะไรที่รับจ้างผลิต ส่วนธุรกิจบริการ ก็อย่าลืมการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายทุกครั้ง หากเป็นธุรกิจลีสซิ่งหรือการเช่าซื้อ ก็ต้องแยกให้ชัดเจนด้วยว่าเป็นการทำธุรกรรมประเภทใด

4.       การเป็นนักบัญชีที่ดีจะต้องเข้าใจถึงกฎหมายการจัดการทางบัญชี เช่น พ.ร.บ. พ.ศ.2543 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการจัดการห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ ประมวลรัษฎากร กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เป็นต้น

5.       หน้าที่ผู้จัดทำบัญชี นอกจากการทำบัญชีให้ถูกต้องแล้ว จะต้องมีหน้าที่เก็บรักษาบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้สำหรับประกอบการลงบัญชีไว้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี หากโดนตรวจสอบ อธิบดีจะให้เก็บเกิน 5 ปีได้ แต่ต้องไม่เกิน 7 ปี

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้